(เพิ่มเติมข้อมูล 1.58 น. ของวันที่ 3 มิ.ย.)
ตำรวจลอสแองเจลิสได้ข้อมูลผู้ก่อเหตุยิงอาจารย์ที่ UCLA จึงไปค้นบ้านเขา ก่อนจะเจอ “รายชื่อที่ต้องฆ่า” ซึ่งเมื่อตำรวจเห็นรายชื่อ จึงแกะรอยไปบ้านต่างๆ เหล่านั้น เมื่อไปถึงก็พบว่า ผู้หญิงคนหนึ่งในรายชื่อถูกยิงเสียชีวิตในบ้านตัวเอง
จากเหตุเมื่อเวลาราว 10.00 น. ของวันที่ 1 มิ.ย. เกิดเหตุยิงใน ม.แคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส (UCLA) เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมอาวุธครบมือกระจายกำลังทั่วมหาวิทยาลัย รถตำรวจหลายสิบคันเข้าปิดล้อมอาคารวิศวกรรม ซึ่งอยู่ใกล้ศูนย์กลางของมหาวิทยาลัย
การก่อเหตุครั้งนี้ มือปืนฆ่าเหยื่อก่อนที่จะฆ่าตัวตาย ผู้ที่ถูกยิงก่อน คือ วิลเลียม คลูก รองศาสตราจารย์ด้านกลไกและวิศวกรรมอวกาศ อายุ 39 ปี
ชาร์ลี เบ็ก ผู้บัญชาการตำรวจลอสแองเจลิสกล่าวว่า ผู้ก่อเหตุครั้งนี้ ชื่อ ชื่อ ไมนาก เซอร์การ์ (Mainak Sarkar) อายุ 38 ปี ซึ่ง AP และ Reuter รายงานว่าเขาเป็นอดีตนักศึกษา UCLA ขณะที่สื่ออีกหลายสำนักระบุว่าเป็นนักศึกษาปริญญาเอก
ตำรวจเข้าค้นบ้านของเขาและพบเบาะแสเป็นกระดาษโน้ตจั่วหัวไว้ว่า “รายชื่อที่ต้องฆ่า” หรือ kill list ในนั้นมีชื่อของ บิลล์ คลูก รองศาสตราจารย์ที่ UCLA, ศาสตราจารย์อีกคนของ UCLA และผู้หญิงอีกหนึ่งคน
จากนั้นตำรวจจึงตามไปสืบบ้านของรายนามที่เหลือ และพบว่า ผู้หญิงในรายชื่อถูกยิงเสียชีวิตในบ้านของเธอไม่ไกลจากมินเนโซตา ส่วนศาสตรจาราย์ของ UCLA อีกคนหนึ่งปลอดภัยดี
ตำรวจกล่าวว่า เซอรการ์มีอาการทางจิต และเขามักคิดว่า บิลล์ คลูก ลอกโค้ดคอมพิวเตอร์ของเขาไปให้ลูกศิษย์อีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของเขา
ตำรวจยังพบบล็อกที่เซอร์การ์เขียนขึ้น มีเนื้อหาโจมตีบิลล์ คลูก และทิ้งท้ายบล็อกว่า “ศัตรูของคุณก็คือศัตรู แต่เพื่อนคุณอาจอันตรายยิ่งกว่า จงระวังคนที่คุณเชื่อใจ”
ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดนี้ ขัดกับรายงานก่อนหน้าที่รายงานว่า มือปืนเป็นนักศึกษาที่มีแรงจูงใจในการก่อเหตุเพราะความเครียดเรื่องเกรด แต่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจชี้ปมความขัดแย้งเรื่องการขโมยโค้ดคอมพิวเตอร์ และสันนิษฐานไปว่าผู้ก่อเหตุมีอาการทางจิต
จากเหตุนี้ ม.แคลิฟอร์เนียประกาศยกเลิกการเรียนการสอนทั้งหมดในวันพุธ ในหลายๆ และสำหรับวิชาวิศวกรรมจะหยุดการเรียนการสอนไปก่อนทั้งสัปดาห์
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพียงสัปดาห์ก่อนจะสอบปิดภาคของม.แคลิฟอร์เนียซึ่งมีนักศึกษา 43,000 คน และเกิดขึ้นเพียงวันเดียวก่อนวันตระหนักถึงความรุนแรงจากปืนแห่งชาติ (National Gun Violence Awareness Day) ที่ทั่งประเทศจะรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากอาวุธปืน โดยผู้คนจะสวมใส่และใช้สีส้มเป็นสัญลักษณ์แทนการรำลึก
หนังสือพิมพ์ LA Times ทำแผนที่เกิดเหตุยิงในสถาบันการศึกษาทั่วสหรัฐ พบว่านับจากเหตุการณ์ที่โรงเรียนประถมแซนดี้ ฮุค ในนิวทาว์น รัฐคอนเนตทิคัต เมื่อ 14 ธันวาคม 2012 จนทำให้มีเด็ก 20 คนและผู้ใหญ่ 6 คนถูกยิงเสียชีวิต นับแต่นั้นยังยังคงมีเหตุยิงในโรงเรียนอีกถึง 186 ครั้งทั่วประเทศ (
ดูแผนที่การก่อเหตุ)
ที่มา: AP, Quartz, LA Times
ภาพ Boelter Hall อาคารที่เกิดเหตุ จาก http://maps.ucla.edu/campus/?locid=124