Site icon Banana Post

วุฒิสมาชิกสหรัฐฯ บี้บริษัทยา ทำไม “ยาแก้แพ้” แพงขึ้น 400 เท่า

Examples of epinephrine pens that the Center for Disease Control and Prevention guidelines recommend that schools stock to combat food allergies are photographed in the Washington Wednesday, Nov. 13, 2013. The deaths of two girls in Illinois and Virginia from severe food allergies have helped spur efforts to get schools to stockpile emergency medications that can save lives. That effort has now reached the highest level: President Barack Obama's desk. The president was expected to sign a bipartisan bill that offers a financial incentive to states if schools stockpile epinephrine, considered the first-line treatment for people with severe allergies. The medication is administered by injection, through preloaded EpiPens or similar devices. (AP Photo/J. David Ake)

สำหรับคนที่มีอาการแพ้รุนแรงที่เสี่ยงต่อชีวิต มักจะต้องพกยา EpiPen เอาไว้ติดตัว ยานี้มาพร้อมแพคเกจที่พร้อมฉีดเข้าร่างกายทันทีที่เกิดอาการรุนแรง แต่ก็มีปัญหาว่า ยาจำเป็นตัวนี้ราคาแพงขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบทศวรรษที่ผ่านมา

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (22 ส.ค.) ชาร์ลส อี. แกรสลีย์ วุฒิสมาชิกจากรัฐไอโอวา จากพรรครีพับลิกัน ส่งจดหมายไปยังบริษัท Mylan ผู้ผลิตยา EpiPens เพื่อขอคำอธิบายว่า มีเหตุอะไรที่ยาต้องแพงขึ้นมหาศาล คือนับแต่บริษัทเริ่มขายยาตัวนี้เมื่อปี 2007 ผ่านไป 9 ปี ยาแพงขึ้นถึง 400 เท่า สนนราคาเวลานี้อยู่ที่ 600 ดอลลาร์ หรือ 20,000 กว่าบาท

EpiPens ถูกโฆษณาว่าเป็นยาที่ควรมีไว้ในบ้านและโรงเรียน เพื่อเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถใช้ได้ทันท่วงที ใช้รับมือสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ที่เสี่ยงต่อชีวิต เช่น การแพ้รุนแรงจากผึ้งต่อย แพ้อาหาร หรืออื่นๆ โดยผู้ป่วยต้องรีบฉีดยานี้เข้าที่ต้นขาทันทีที่มีอาการ

แม้ยานี้จะรวมอยู่ในระบบประกันสุขภาพฟรีที่รัฐสงเคราะห์ ซึ่งจะทำให้คนที่มีรายได้น้อยเข้าถึงยาได้ แต่ความเฟ้อของราคาก็เป็นเรื่องที่น่าฉงนและเป็นภาระงบประมาณรัฐ นอกจากนี้ แม้จะมีผลิตภัณฑ์ของบริษัทอื่นที่ทำออกมาแข่ง เช่น Adenaclick แต่บริษัทประกันหลายแห่งก็ไม่ยอมให้เบิก

ขณะที่ เอมี คลอบูชาร์ วุฒิสมาชิกรัฐมินเนโซตา จากพรรคเดโมแครต ก็ตั้งกระทู้ถามเรื่องราคา และเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการด้านการค้าเข้าไปตรวจสอบว่าบริษัท Mylan ได้กระทำการใดที่ขัดขวางไม่ให้คู่แข่งเข้าสู่ตลาดหรือไม่ เพราะ อีกยี่ห้อหนึ่ง คือ Adrenaclick ซึ่งราคาถูกกว่ามาก แต่ก็ไม่ค่อยวางขายในท้องตลาด

สำหรับผลประกอบการของ Mylan ในแผนกที่ขาย EpiPens และสินค้าเล็กน้อยอื่นๆ พบว่า สามารถทำเงินได้ถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2015 หรือมากกว่า 4 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ดี ประเด็นที่วุฒิสมาชิกทั้งสองคนทวงถามนั้น เป็นเพียงกรณีหนึ่งของธุรกิจใหญ่ ซึ่งภาพรวมใหญ่ของธุรกิจยา มักมีข้อโต้แย้งหลักว่า บริษัทยาจำเป็นต้องหวงแหนการผูกขาดสิทธิบัตร ซึ่งจะช่วยให้ผูกขาดตลาดแล้วทำกำไรได้ แล้วก็จะได้ช่วยให้มีงบประมาณไปส่งเสริมให้เกิดการค้นพบตัวยาใหม่ๆ

แต่บนข้ออ้างนี้ บริษัทยาต่างๆ ก็ไม่ค่อยเปิดเผยว่า ใช้งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาไปในการทดลองเท่าไร อย่างไรก็ดี จากข้อมูลที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวไปค้นเอกสารที่บรรษัทยาส่งรายงานถึงตลาดหลักทรัพย์ ชี้ให้เห็นภาพคร่าวๆ ว่า บริษัทยาใช้งบการลงทุนและวิจัยไปราวร้อยละ 8-18 ของรายได้ ซึ่งน้อยกว่างบประมาณทำการตลาดเป็นอย่างมาก และแน่นอนว่าเป็นก้อนที่น้อยกว่ากำไรที่บริษัทได้กลับคืนมา

จากข้อมูลนี้ จึงทำให้เชื่อได้ว่า ในการจ่ายยาแพงแต่ละครั้ง มีเพียงสัดส่วนน้อยนิดเท่านั้น ที่เข้าไปสู่งบวิจัยและพัฒนายา

ที่มา:

Exit mobile version